โครงสร้างที่ใช้ป้องกันตัว
ปลาฉลามมีรูปรา่งเพรียวลู่น้ำและมีฟันแหมคมสามารถใช้จับเหยื่อและป้องกันตัวได้อย่างดีส่วนปลากระเบน
ที่มีลักษณะแบนแนบพื้นและปากอยู่ทางด้านล่างไม่สามารถป้องกันตัวได้ปลากระเบนจึงหนามเป็นเหงี่ยงอยู่
บริเวณฐานของหางกรณีที่ปลากระเบนไฟฟ้ามีอวัยวะผลิตกระแสไฟฟ้าที่ดัดแปลงมาจากกล้ามเนื้อของครีบ
อกเพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าป้องกันตัวเมื่อถูกกระทบปลาขี้ตั้งเบ็ด(surgeonfish)เป็นปลาที่กินพืชแต่มีเหงี่ยง
แหลมตรงฐานของโคนหางทั้งสองด้านซึ่งจะกางออกทำร้ายส่วนปลาสิงโต(lionfish)อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง
มีหนามพิษบนครีบหลัง13อันครีบทวาร3อันและครีบท้อง2อันซึ่งมีลำตัวเรียวยาวภายในที่ต่อมน้ำพิษเมื่อแทงเข้า
ไปในเนื้อเยื่อของศัตรูแล้วจะก่อให้เกิดความเจํบปวดอย่างรุนแรงทำนองเเดียวกันปลากะรังหัวโขน(stonefish)
มีหนามสั้นแข็งและมีท่อนำน้ำพิษมาเปิดออกตรงปลายโครงสร้างเห่ลานี้เป็นผลมาจากการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
และสืบทอดลักษณะต่อเนื่องกันเรื่อยมาทางกรรมพันธุ์