ลักษณะภายนอกของปลา
ในการจำแนกหมวดหมู่และชนิดของปลามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงโครงสร้างภายนอกอย่างละเอียด
กล่วว่าร่างกายของปลาแบ่งออกเป็นส่วนหัวลำตัวและหางลำตัวทรวงหน้าเป็นส่วนอก(thoracic)ส่วนหลังเป็นท้อง
(abdom)ตามปกติปลามีครีบหคู่จำนวน2คู่ได้แก่ครีบอกหรือครีบหู(pectoralfin)อยูทางส่วนหน้าและครีบท้อง
(pelvic fins)อยูถัดจากทางตอยท้ายซึ่งอาจมีตำแหน่งอยู่ถัดไปมางตอน
ท้ายของครีบอกหรืออยู่ทางด้านใต้ครีบอกใกล้กับคางหรือในปลาบางชนิดอยู่ถัดจากใต้ทรวงอกส่วนครีบเดี่ยว
ประกอบด้วยครีบหลัง(dorsalfin)ครีบทวาร(analfin)และครีบหาง(caudalfin)แต่ละครีบจะมีกระดูกแข็งเป็นหนาม
(spine)หรือกระดูกออ่นเป็นโครงค้ำจุนครีบบางครั้งหนามอาจมีลักษรณะเป็นเหงี่ยงที่ไม่ได้ทำหน้าที่รองรับ
เช่นโคนหางบนแผ่นปิดเหงือกหรือหัวปลาในบางวงศ์ครีบหลังตอนหน้าและตอนท้ายเชื่อมต่อกันหรือเชื่อมต่อ
กับครีบหางบางวงศ์ครีบท้องลดรูปไปหรือทั้งครีบท้องและครีบอกลดรูปไปปากของปลาอยู่ทางด้านหน้าสุด
ยกเว้นในฉลามและกระเบนที่ปากอยู่ทางด้านล่างและมีช่องจมูก(nostrils)อยูทางด้านหน้าใช้ดมกลิ่น
ปลาส่วนใหญ่มีช่องจมูกเป็นคู่ยกเว้นในบางวงศ์เท่านั้นที่มีเพียงช่องเดี่ยวกระดูกขากรรไกรบนมักยื่นลงมาถึงแก้ม
ฟันวึ่งอยู่ในปากของปลาอาจมีลักษณะเป็นซี่ละเอียดแยกกันหรือเชื่อมรวมกันเป็นขอบแข็งบนขากรรไกรปลาบางชนิด
ที่ชอบหาอาหารอยู่ตามหน้าดินมักมีหนวดบริเวณใต้คาง(barble)เพื่อใช้หาอาหารเหงืกของปลาอยู่ทางด้านข้างของหัว
ซึ่งในปลากระดูกแข็งมีแผ่นปิดเหงือกส่วนในปลากระดูกอ่อนไม่มีแผ่นปิดเกล็ดหุ้มลำตัวของปลามีอยู่หลายแบบในปลากระดูกอ่อน
เช่นปลาฉลามมีเกล็ดพลาคอยด์(placoidscale)ฟันคมมีส่วนยื่นแหลมไปทางหางพบกระจายอยู่ทั่วลำตัวในปลากระดูกแข็ง
พบเกล็ดหุ้มลำตัวอยู่3แบบด้วยกันคือเกล็ดแบนแกน(ganoidscale)ลักษณะเป็นแผ่นสีเหลี่ยมขนมเปีนกปูนเรียง
บรรจบหรือซ้อนกันทำให้มีลักษณะคล้ายเกราะพบในปลากระดูกโบราณเช่นปลาการ์(gar)อีกชนิดหนึ่งเป็นเกล็ดกลม
หรือเกล็กแบบไซคลอยด์(cycloidscale)ลักษณะกลมขอบเรียบและแบบหยักหรือทีนนอยด์(ctenoidscale)มีหนามแหลมยื่นออกมา
ปลากระดูกแข็งปัจจุบันแต่ละชนิดบางชนิดอาจมีเกล็ดแบบกลมหรือแบบหยักแบบใดแบบหนึ่งและปลาบางชนิดมีเกล็ด
ทั้งสองแบบอยู่ในตัวเดียวกัน